การแสดงความคิดเห็นเป็นการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของตนเองให้ผู้อื่นได้รับทราบ
ซึ่งการแสดงความเห็นออกไปในแต่ละครั้งนั้นอาจจะสร้างความไม่พอใจให้กับหลายๆคน
แต่การแสดงความเห็นเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะจะนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงสิ่งต่างๆให้ดียิ่งขึ้น จึงมีการบัญญัติรารแสดงความคิดเห็นเป็นการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของตนเองให้ผู้อื่นได้รับทราบ
ซึ่งการแสดงความเห็นออกไปในแต่ละครั้งนั้นอาจจะสร้างความไม่พอใจให้กับหลายๆคน
แต่การแสดงความเห็นเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะจะนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงสิ่งต่างๆให้ดียิ่งขึ้น จึงมีการบัญญัติรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
ซึ่งข้าพเจ้าขอนำเสนอ ดังนี้
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2550 มาตรา 45"บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน
การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้
เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ
เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ
ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัว หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น
เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน"
มาตรา 56
"บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ..."มาตรา
57 "บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ...และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว..."
รวมถึงขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งให้การรับรองและคุ้มครองไว้ในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน
อาทิ "บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง
บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา
รับและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้
ไม่ว่าด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือการตีพิมพ์ ในรูปของศิลปะ
หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก"
หน่วยงานภาครัฐ
และนักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ ข้าราชการถือเป็นบุคคลสาธารณะ (Public
figure) กล่าวคือเป็นบุคคลที่ให้บริการสาธารณะหรือเกี่ยวข้องกับประชาชนในฐานะที่เป็นข้าราชการประจำ
เช่น ข้าราชการฝ่ายปกครอง ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการตุลาการ
ข้าราชการครู หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่สังกัดส่วนราชการต่างๆ
เพราะนโยบายหรือการปฏิบัติงานของเขากระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป
การเป็นองค์กรและบุคคลสาธารณะประชาชนย่อมมีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจารณ์โดยชอบตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
และหน่วยงาน/บุคคลก็มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะชี้แจงให้ผู้แสดงความคิดเห็น
วิพากษ์วิจารณ์นั้นรับทราบข้อเท็จจริงตามที่เห็นสมควรแต่การแสดงความคิดเห็นใดๆ
ก็พึงระวังให้การแสดงความเห็นเป็นไปโดยชอบตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2550 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งให้การรับรองและคุ้มครองไว้ในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน
โดยคำนึงว่าความคิดเห็น ที่แสดงออกไปนั้น โดยเฉพาะที่แสดงผ่านทางเว็บไซต์ควรงดเว้น
การใช้คำหยาบคาย ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย สร้างความแตกแยก
หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
และตระหนักถึงบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2550 มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้
(1)
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน
หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
หรือประชาชน
(2)
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ
หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3)
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ
อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4)
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ
ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม
(1) (2) (3) หรือ (4)
โทษ:
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 15
ผู้ให้บริการใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน
โทษ:
ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14 (เหตุผล -
ผู้ให้บริการในที่นี้มุ่งประสงค์ถึงเจ้าของเว็บไซต์
ซึ่งมีการพิจารณาว่าควรต้องมีหน้าที่ลบเนื้อหาอันไม่เหมาะสมด้วย)
ดังนั้น
การใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางเว็บไซต์จะต้องคำนึงถึงประเด็นดังกล่าวข้างต้นด้วย
เนื่องจากเกี่ยวข้องกับเรื่องของการเผยแพร่ นอกจากดูเรื่องกฏหมายรัฐธรรมนูญแล้ว
ยังต้องดูเรื่องของกฎหมายอื่นประกอบด้วย เช่นในเรื่องการละเมิด ถึงบุคคลที่สาม
หรือกฏหมายเกี่ยวกับการนำเสนอสื่อในระบบสารสนเทศ หรือกฏหมายอินเตอร์เน็ต
ซึ่งต้องระมัดระวัง กล่าวคือ บางกรณีอาจจะไปเข้าหลักเกณฑ์ในกฏหมายลูกบางฉบับ
เพราะการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต โอกาสที่บุคคลที่ถูกพาดพิง
หรือกล่าวหาจะมาแก้ต่างนั้นลำบาก หรือแม้แต่จะสามารถหาต้นตอของการโพสหรือเผยข้อมูลได้ก็ต้องใช้เวลา
แม้ว่าการลบ หรือไม่ลบจะขึ้นอยู่ในการตัดสินใจของผู้ดูแลก็ตาม
และแม้ผู้ที่ถูกพาดพิงจะสามารถแก้ไขข้อกล่าวหาได้ก็ตาม
ทำให้เรื่องแบบนี้ค่อนข้างบอบบางในมุมมองทางกฏหมาย
อย่างไรก็ตามเพื่อให้มั่นใจว่าทุกความเห็นจะได้รับการคุ้มครองตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ
พ.ศ. 2550
และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งให้การรับรองและคุ้มครองไว้ในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน
จึงขอความร่วมมือให้ผู้ที่แสดงความเห็นทุกท่าน โปรด "ระบุชื่อ-นามสกุลจริง"
ไว้ในการแสดงความเห็นทุกครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น