จริยธรรม (Ethics)
หลักของความถูกต้องและไม่ถูกต้อง
ซึ่งถูกใช้เป็นตัวแทนของหลักในการปฏิบัติตนของบุคคล ความสัมพันธ์ของหลักทางศีลธรรม
อันได้แก่ ความดีและความชั่วความถูกต้องและไม่ถูกต้อง หรือหน้าที่และกฎเกณฑ์ทางศีลธรรม
เป็นศาสตร์ แขนงหนึ่งของ “ปรัชญา” ที่เกี่ยวข้องกับหลักในการปฏิบัติตนของมนุษย
ที่อยู่ร่วมกันในสังคมหรือหมู่คณะใดๆ บุคคลใดที่ประพฤติตนตามหลักจริยธรรม
ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น
จะถือว่าบุคคลนั้นประพฤติตนได้สอดคล้องกับมาตรฐานทางสังคมที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
ดังนั้น “หลักจริยธรรม” จึงเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคนในสังคม
จริย หมายถึง การแสดงออกทางกาย ทางวาจา ของมนุษย์
ธรรม หมายถึง ธรรมชาติของมนุษย์ที่มีกาย วาจา
เป็นสื่อภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
จริยธรรม หมายถึง เป็นหลักประพฤติปฏิบัติของบุคคลในสังคมใดๆ
(ไม่บังคับใช้แต่เกิดจากการปลูกฝัง สร้างจิตสำนึก เป็นเรื่องของการแสดงออกทางกาย
ทางวาจา)
ศีลธรรม หมายถึง เป็นการประพฤติที่ดีที่ชอบ
เป็นการประพฤติปฏิบัติในทางศาสนา
จรรณยาบรรณ หมายถึง
เป็นการประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น
เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเป็นลายลักษณ์
อักษรหรือไม่ก็ได้
หลักของความถูกต้องและไม่ถูกต้อง
ซึ่งถูกใช้เป็นตัวแทนของหลักในการปฏิบัติตนของบุคคล ความสัมพันธ์ของหลักทางศีลธรรม
อันได้แก่ ความดีและความชั่วความถูกต้องและไม่ถูกต้อง หรือหน้าที่และกฎเกณฑ์ทางศีลธรรม
เป็นศาสตร์ แขนงหนึ่งของ “ปรัชญา” ที่เกี่ยวข้องกับหลักในการปฏิบัติตนของมนุษย
ที่อยู่ร่วมกันในสังคมหรือหมู่คณะใดๆ บุคคลใดที่ประพฤติตนตามหลักจริยธรรม
ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น
จะถือว่าบุคคลนั้นประพฤติตนได้สอดคล้องกับมาตรฐานทางสังคมที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
ดังนั้น “หลักจริยธรรม” จึงเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคนในสังคม
จริย หมายถึง การแสดงออกทางกาย ทางวาจา ของมนุษย์
ธรรม หมายถึง ธรรมชาติของมนุษย์ที่มีกาย วาจา
เป็นสื่อภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
จริยธรรม หมายถึง เป็นหลักประพฤติปฏิบัติของบุคคลในสังคมใดๆ
(ไม่บังคับใช้แต่เกิดจากการปลูกฝัง สร้างจิตสำนึก เป็นเรื่องของการแสดงออกทางกาย
ทางวาจา)
ศีลธรรม หมายถึง เป็นการประพฤติที่ดีที่ชอบ
เป็นการประพฤติปฏิบัติในทางศาสนา
จรรณยาบรรณ หมายถึง
เป็นการประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น
เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเป็นลายลักษณ์
อักษรหรือไม่ก็ได้
![]() |
เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา |
จริยธรรมทางธุรกิจ (Business
Ethics)
หลักและมาตรฐานด้านศีลธรรม ที่ชี้นำพฤติกรรมในโลกธุรกิจ
เพื่อการตัดสินใจของแต่ละบุคคลภายในบทบาทขององค์
การภายใต้ข้อขัดแย้งระหว่างวัตถุประสงค์ และค่านิยม การนำหลักธรรมจริยธรรมมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องชี้นำกิจกรรมทางธุรกิจขององค์
กร หากองค์กรดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม จะทำให้เกิดผลดี 5 ประการ ดังนี้
1.ได้ค่านิยมหรือมีค่าความนิยมเพิ่มมากขึ้นองค์กรที่มีจริยธรรมทางธุรกิจ
จะมีค่าความนิยมเพิ่มขึ้น การดำเนินธุรกิจก็จะง่ายขึ้น
มีโอกาสได้รับแต่สิ่งที่ดีที่สุด เช่น องค์ กรใดที่ให้สวัสดิการที่ดีแก่พนักงาน
จะเป็นที่ต้องการของผู้สมัครงานที่มีความสามารถสูง องค์
กรก็มีโอกาสสูงที่จะได้ผู้สมัครงานที่มีความสามารถเข้ามาเป็นพนักงาน
2.การดำเนินงานในองค์กรมีความสอดคล้องกันองค์กรที่มีจริยธรรมทางธุรกิจ
จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ถือผลประโยชน ร่วมกันได้หลายฝ่าย เช่น พนักงาน
ลูกค้า ผู้ถือหุ้นหรือชุมชน ซึ่งเมื่อแต่ละฝ่ายต่างได้รับการตอบสนองที่ดีแล้ว
ย่อมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการดำเนินงาน ทำให้ดำเนินงานร่วมกันมีความสอดคล้องกันเป็นอย่างดี
3.เพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจ การมีจริยธรรมที่ดีทางธุรกิจ
ทำให้ธุรกิจดีไปด้วย ยังส่งผลให้มีกำไรเพิ่มขึ้นด้วย เช่น องค์
กรที่ให้บริการลูกค้าด้วยความยุติธรรม จะสามารถรักษาฐานลูกค้าไว้ได้นาน และมีลูกค้าเพิ่มขึ้นอยู่เสมอองค์กรที่ให้ความสำคัญต่อขวัญกำลังใจของพนักงาน
ย่อมสามารถรักษาพนักงานที่มีศักยภาพสูงไว้ได้นาน
4.ป้องกันองค์กรและพนักงานจากการดำเนินการทางกฎหมาย องค์กรควรดำเนินธุรกิจด้วยจริยธรรมอันดี และไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยองค์กรสามารถจัดตั้งโครงการเสริมสร้างจริยธรรมทางธุรกิจ ดังนี้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและจะต้องมีจริยธรรมอันดีทำความเข้าใจในจุดแข็งและจุดอ่อนของวัฒนธรรมและความสามารถขององค์กรวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
เพื่อพิจารณาว่าอะไรคือแรงกดดันที่ธุรกิจต้องเผชิญ
พิจารณาพฤติกรรมเสี่ยงด้านอาชญากรรม ความล่อแหลมต่อกฎหมาย และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5.หลีกเลี่ยงข่าวในแง่ลบได้ หากองค์กรมีชื่อเสียงในทางที่ดี
จะช่วยให้มูลค่าหุ้นขององค์ กรเพิ่มมากขึ้นในทางตรงกันข้าม หากองค์
กรมีชื่อเสียงในแง่ลบก็จะส่งผลให้มูลค่าหุ้นลดต่ำลงทันทีหลายองค์
กรจึงให้ความสนใจกับโครงการเสริมสร้างจริยธรรมทางธุรกิจและความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมาก
เพื่อสร้างชื่อเสียงในด้านดี และหลีกเลี่ยงข่าวในแง่ลบ
การเสริมสร้างจริยธรรมทางธุรกิจในองค์กร
ความเสี่ยงของพฤติกรรมที่ขัดกับหลักจริยธรรมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ซึ่งอาจนำมาซึ่งความเสียหายแก้องค์กร ดังนั้นหลายองค์
กรในปัจจุบันจึงให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างจริยธรรมทางธุรกิจ ด้วยกิจกรรมต่างๆ
ดังต่อไปนี้
1.แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ด้านจริยธรรมขององค์กร เจ้าหน้าที่ด้านจริยธรรมขององค์กร
คือ ผู้จัดการระดับอาวุโส ทำหน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์ และทิศทางที่เกี่ยวข้องกับหลักปฏิบัติของธุรกิจโดยทำหน้าที่บูรณาการจริยธรรมขององค์กร
นโยบาย กิจกรรมการ
2.กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม การกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมขององค์กร
เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจขององค์กรดำเนินไปด้วยความโปร่งใสปฏิบัติตามกฎหมายและขอบังคับทางอุตสาหกรรม
และไม่มีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง
3.กำหนดจรรณยาบรรณขององค์กร
เป็นการประกาศประเด็นด้านจริยธรรมและระบุหลักการปฏิบัติที่สำคัญต้อองค์กรและการตัดสินใจในระดับต่างๆ
ควรเน้นในเรื่องของความเสี่ยงด้านจริยธรรมทางธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของตนในแต้ละวันมีวิธีการช่วยเหลือและข้อแนะนำในการปฏิบัติตนเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์
ความขัดแย้งด้านจริยธรรมทำให้มั่นใจว่าพนักงานจะปฏิบัติตามกฎหมาย
ข้อบังคับด้านอุตสาหกรรม และทำงานด้วยวิธีการที่โปร่งใส
ไม่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่องค์กร
4.ให้มีการตรวจสอบทางสังคม เป็นการตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมทางสังคมขององค์กร
โดยองค์กรจะต้องรายงานผลการดำเนินกิจกรรมทางสังคมให้แก่บุคลากรทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นพนักงาน
นักลงทุน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า ซัพพลายเออร์
ตลอดจนเจ้าหน้าที่รัฐบาล และประชาชนทั่วไปเพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรสามารถดำเนินนโยบายทางสังคมที่ได้กำหนดไว้ในอดีตได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
และเพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำที่ผิดพลาดในอนาคต
5.กำหนดเงื่อนไขทางจริยธรรมไว้ในแบบประเมินพนักงาน
เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายจริยธรรมทางธุรกิจบางองค์กรอาจเพิ่มเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมในแบบประเมินพนักงานเพื่อใช้เป็นเกณฑ์
ในการวัดจริยธรรมของพนักงาน เช่น พนักงานเคารพสิทธิของเพื่อนร่วมงานหรือไม่พนักงานปฏิบัติตนต่อเพื่อนร่วมงานอย่างเป็นธรรมหรือไม่
พนักงานพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องหรือไม่พนักงานร่วมงานกับผู้อื่นด้วยความจริงใจและซื่อสัตย์หรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น